หน้าหลักรายละเอียดโครงการ
โครงการสัมมนาระดมความเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับผำหรือไข่น้ำ: การผลิตเพื่อบริโภค และ เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับผำหรือไข่น้ำ: การผลิตเพื่อเป็นอาหารสัตว์
•─────────•°•°•─────────•
วันที่ 11 กรกฎาคม 2567
ณ โรงแรมมันตรา วารี จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับรูปแบบออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Application: Zoom Cloud Meetings
•─────────•°•°•─────────•
วันที่จัดงาน
11 ก.ค. 2567
ณ โรงแรมมันตรา วารี จังหวัดขอนแก่น ขอนแก่น
กำหนดมาตรฐาน
  • รูปแบบการจัด
  • ณ โรงแรมมันตรา วารี จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับรูปแบบออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Application: Zoom Cloud Meetings
หลักการและเหตุผล
ผำหรือไข่น้ำ จัดเป็นพืชน้ำมีดอกที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก มีลักษณะรูปร่างกลมคล้ายไข่ปลา มีสีเขียว สามารถเจริญเติบโตในบ่อน้ำที่นิ่ง ปัจจุบันผำมีแนวโน้มว่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่สำคัญของไทย และเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็น super food เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม วิตามิน A วิตามินB1 วิตามินB2 เกลือแร่ ไฟเบอร์ คลอโรฟิลล์ (สุทิน, 2015) มีกรดอะมิโนที่จำเป็นหลายชนิด เช่น ลิวซีน ไลซีน วาลีน ฟีนิวอลานีน ธีโอนีน ไอโซลิวซีน และมีเบต้าแคโรทีนและโปรตีนสูงมาก (ทั้งนี้ปริมาณโปรตีนจะไม่สม่ำเสมอขึ้นกับวิธีการเพาะเลี้ยงและแหล่งที่เพาะเลี้ยง โดยจะแปรผันไปตามปัจจัยแวดล้อมที่เจริญเติบโต) ปัจจุบันมีการนำผำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน เช่น แกงผำ ไข่เจียว น้ำเกรวี่ เบเกอรี่ ไอศกรีม ทอดมัน นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์น้ำ เพื่อช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกรได้อีกด้วย
สำหรับประเทศไทยมีแนวโน้มว่าจะมีพื้นที่เพาะเลี้ยงและปริมาณผำเพิ่มมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากผำสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและเพาะเลี้ยงได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เช่น ภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ น่านกำแพงเพชร) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ ยโสธร มหาสารคาม บุรีรัมย์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด) ภาคกลาง (อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี ปทุมธานี) ภาคตะวันออก (จันทบุรี ฉะเชิงเทรา)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ในฐานะหน่วยงานกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรของประเทศภายใต้ พ.ร.บ. มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เห็นควรจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับผำหรือไข่น้ำ: การผลิตเพื่อบริโภค และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับผำหรือไข่น้ำ: การผลิตเพื่อเป็นอาหารสัตว์ เพื่อเป็นการส่งเสริมและเป็นแนวทางการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยต่อการบริโภค เพิ่มโอกาสทางการค้าให้กับประเทศ จึงเห็นควรจัดสัมมนาระดมความเห็นต่อร่างมาตรฐานฯ ดังกล่าว เพื่อรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำข้อคิดเห็นมาปรับปรุงร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับผำหรือไข่น้ำ: การผลิตเพื่อบริโภค และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับผำหรือไข่น้ำ: การผลิตเพื่อเป็นอาหารสัตว์ ให้มีความสมบูรณ์และเป็นที่ยอมรับจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อนที่จะประกาศเป็นมาตรฐานของประเทศไทยต่อไป
วัตถุประสงค์
1 เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับผำหรือไข่น้ำ: การผลิตเพื่อบริโภค และการผลิตเพื่อเป็นอาหารสัตว์ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงร่างมาตรฐานฯ ทั้ง 2 ฉบับ ให้มีความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ อยู่ในแนวทางที่เหมาะสม และนำไปปฏิบัติได้
2 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวทางต่าง ๆ ในการนำมาตรฐานไปปฏิบัติ
ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3 เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีประสบการณ์ในการดำเนินการด้านการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรตาม พ.ร.บ. มาตรฐาน
สินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
4 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการพิจารณามาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อให้มีการนำไปปฏิบัติและมีผลต่อการปรับปรุงคุณภาพระบบการผลิต
กลุ่มเป้าหมายและคุณสมบัติผู้เข้าร่วม
▶ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
▶เจ้าหน้าที่จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
▶ผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง
▶มหาวิทยาลัย
▶ผู้แทนภาคเอกชน
▶ผู้ประกอบการ
▶เกษตรกร
▶ผู้ทรงวุฒิ
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
กำหนดการ Download
ตอบรับเข้าร่วมสัมมนา Download
รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ
จำนวนรวม 2 คน
  1. นัยส***ธิ์ ยิ่ง***แหง
  2. พิชช***รณ์ อาชว*******พย์